ซ้อมจักรยานอยู่บ้าน เลือกเทรนเนอร์แบบไหนดี [Update 2023]

นักปั่นหลายคนไม่ค่อยมีเวลาในการฝึกซ้อมออกไปปั่นนอกบ้านสักเท่าไหร่ การที่จะยังคงความฟิตและแข็งแรงขึ้นกว่าเดิมไปได้ก็จำเป็นที่จะต้องเทรนเนอร์จักรยานติดบ้านกันสักตัว ซึ่งขอบอกเลยว่าการเลือกซื้อเทรนเนอร์ ถือว่าเป็นหนึ่งในการลงทุนที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งเลยก็ว่าได้ สามารถสร้างแรงปั่น เพิ่มความแข็งแรงให้แก่นักปั่นได้อย่างรวดเร็ว โดยใช้เวลาน้อยกว่าการปั่นถนนจริงมาก

แต่หลายคนคงมีคำถามในใจว่า เราควรจะเลือกซื้อเทรนเนอร์จักรยานแบบไหนดี เพราะในตลาดมีให้เลือกเยอะมาก มากมายเหลือเกิน เลือกไม่ถูก หลายคนอาจได้ยินเพื่อนๆบอกต่อๆกันมาด้วยว่า การปั่นบนเทรนเนอร์นั้น ให้ความรู้สึกไม่เหมือนการปั่นจริงเลย

ในความเป็นจริงแล้ว ปัจจุบันนี้มีเทรนเนอร์และอุปกรณ์เสริมต่างๆออกมาในเลือกใช้จำนวนมาก ที่เปิดโอกาสให้นักปั่นสามารถเลือกใช้เพื่อเข้าถึงประสบการณ์ที่ใกล้เคียงกับการปั่นบนถนนจริงได้มากยิ่งขึ้น ในบทความนี้เราจะมาพูดถึงเทรนเนอร์และอุปกรณ์เสริมในรูปแบบต่างๆเพื่อช่วยให้คุณสามารถเลือกอุปกรณ์ได้อย่างเหมาะสมกันครับ

เทรนเนอร์จักรยานมีแบบไหนบ้าง

ในปัจจุบันเทรนเนอร์ให้เลือกมากมายหลากหลายรูปแบบ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆได้ตามข้อมูลด้านล่างต่อไปนี้

แบบแม่เหล็ก

ตัวเทรนเนอร์ทำงานโดยสร้างแรงหนืดจากสนามแม่เหล็ก นักปั่นสามารถปรับความหนืดเหล่านี้ได้ด้วยรีโมท ปรับขึ้น ปรับลง ได้เองในขณะที่ปั่น ตัวรีโมทจะปรับในรูปแบบขั้นบันไดซึ่งความหนืดก็จะเพิ่มเป็นระดับขั้นตามๆกัน

ข้อควรระวัง ในตัวเทรนเนอร์แบบแม่เหล็กระดับล่างๆ มักไม่มีรีโมทปรับความหนืดมาให้ด้วย ทำให้ผู้ปั่นต้องหมั่นลงมาปรับความหนืดด้วยตัวเอง ซึ่งก็ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ เพราะทำให้ผู้ปั่นขาดความต่อเนื่องในระหว่างการฝึกซ้อมไป

แบบ fluid

ระบบนี้ใช้ของเหลวเข้ามาช่วยในการสร้างแรงหนืด เมื่อผู้ปั่นทำความเร็วได้สูงขึ้น ของเหลวก็จะเพิ่มความแข็งตัว ทำให้เกิดแรงหนืดกลับมาหาผู้ปั่น

ข้อควรระวัง เทรนเนอร์แบบ fluid มีประวัติในการเกิด overheat บ่อยครั้ง หากมีการออกกำลังที่ต้องทำเซ็ตหนักๆ ทำให้เทรนเนอร์ประเภทนี้อาจะไม่เหมาะสำหรับการลงทุนระยะ หากใครคิดว่าจะลงทุนซื้อเทรนเนอร์ตัวเดียว เพื่อนำไปใช้ต่อเนื่องได้หลายๆปีอาจจะต้องลองดูตัวเลือกอื่นๆต่อไป

แบบ flywheel

ตัวเทรนเนอร์มีจานหมุนอยู่ภายในคอยสร้างแรงต้าน และส่งแรงๆต่างเสมือนการปั่นจริง เทรนเนอร์รูปแบบนี้จะมีขนาดใหญ่และหนัก เนื่องจากยิ่งจานหมุนที่มีน้ำหนักมากเท่าไหร่ จานหมุนก็จะสามารถคงแรงต่างๆได้เสมือนถนนจริงมากเท่านั้น

ข้อควรระวัง เทรนเนอร์แบบ flywheel มักมีขนาดใหญ่และหนักมากเมื่อเทียบกับเทรนเนอร์รูปแบบอื่นๆ ทำให้ตัวเทรนเนอร์ไม่เหมาะสมต่อการนำไปใช้งานที่ต้องนอกสถานที่บ่อยๆ เช่น นำไปใช้วอร์มอัพก่อนการแข่งขัน

แบบลูกกลิ้ง

เทรนเนอร์แบบลูกกลิ้งเป็นเทรนเนอร์แบบคลาสสิคที่ใช้กันมายาวนาน มักเป็นที่นิยมของนักปั่นประเภทลู่ (track cyclist) หากผู้ปั่นไม่เคยปั่นเทรนเนอร์แบบลูกกลิ้งมาก่อน ผู้ปั่นจำเป็นต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่ง ในการศึกษาทักษะการทรงตัวบนเทรนเนอร์แบบลูกกลิ้ง เพื่อให้สามารถปั่นได้อย่างปลอดภัย

อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน เทรนเนอร์แบบลูกกลิ้งมีการปรับเปลี่ยนพัฒนาไปเป็นแบบผสมผสาน อย่างสินค้า Feedback sport Omnium trainer ที่มีตัวจับยึดล้อหน้าในส่วนหน้า และตัวลูกกลิ้งในส่วนท้าย เป็นต้น

ข้อดีที่สำคัญของเทรนเนอร์แบบลูกกลิ้ง คือ ช่วยในการฝึกรอบขาและการทรงตัวได้ดี ตัวเทรนเนอร์มีน้ำหนักเบา สามารถพกพาไปนอกสถานที่หรือเอาไปใช้เพื่อ warm up ก่อนงานแข่งได้ดีมากๆ

ข้อควรระวัง เทรนเนอร์ประเภทนี้ไม่สามารถกำหนดความหนืดได้ หากต้องใช้ในการฝึกซ้อมการทำเซ็ตหรือปั่นขึ้นเขาที่ใช้รอบขาต่ำ ความหนืดของตัวเทรนเนอร์มักจะไม่เพียงพอต่อการใช้งาน

แบบ Smart Trainer

เทรนเนอร์ที่ทันสมัยที่สุด เปิดโอกาสในนักปั่นสามารถปรับความหนืดหรือแรงต้านในรูปแบบต่างๆได้จากแอพมือถือ เชื่อมต่อโดยตรงกับแอพภายนอกมากมายไม่ว่าจะเป็น Zwift, Trainerroad, หรือ Sufferfest

โดยแอพต่างๆเหล่านี้จะสามารถปรับความหนืด ความชันอัตโนมัติตามแผนการซ้อมหรือ สนามปั่นที่ใช้งานอยู่ได้เลย

Smart trainer ยังสามารถวัดและแสดงค่า watt ให้คุณสามารถใช้ในการฝึกซ้อม เพื่อวางแผนการซ้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นไปด้วย โดยความแม่นยำในการวัดค่า watt มักจะเริ่มตั้งแต่ +/- 3% ไปจนถึง +/- 1%

Smart trainer และ Ecosystem

Smart trainer นี้นอกจากจะทำให้คุณสามารถฝึกซ้อมได้สะดวกสบายยิ่งขึ้นแล้ว ยังให้ความรู้สึกในการปั่นที่สมจริงมากขึ้นไปในอีกระดับได้อีกด้วย โดยผู้ปั่นสามารถผนวกรวมเทรนเนอร์กับอุปกรณ์เสริมต่างๆ(ecosystem) เข้ามาใช้งานด้วยกัน เช่น ใน Wahoo Smart trainer ทุกตัว คุณสามารถเชื่อมต่อ พัดลมเทรนเนอร์ และ ตัวจับเทรนเนอร์ยกระดับความชัน เข้ามาใช้งานร่วมกันได้ เป็นต้น

 

แนะนำให้ใช้แบบ Smart Trainer

สำหรับใครที่ยังไม่แน่ใจว่าควรเลือกเทรนเนอร์จักรยานแบบไหนดี เราอยากแนะนำให้ซื้อแบบ Smart trainer ไปเลย เพราะว่าสามารถเชื่อมกับแอพ โปรแกรม และเกมต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้คุณสนุกกับการปั่นได้มากกว่า

มีอุปกรณ์วัด Heart rate แบบไหนบ้าง

อุปกรณ์วัด Heart rate เป็นหนึ่งในข้อมูลที่สำคัญเมื่อใช้งานเทรนเนอร์อยู่ที่บ้าน ไม่เพียงแค่บอกถึงข้อมูลถึงโซนการซ้อมที่เหมาะสม แต่ยังบอกถึงสมรรถภาพทางร่างกายที่เพิ่มขึ้นจากการฝึกซ้อมได้อีกด้วย

ในปัจจุบันอุปกรณ์วัด heart rate มีตัวเลือกให้เลือกใช้ได้มากมาย สำหรับนักปั่นโดยทั่วไป มักจะรู้จักสายคาดอกกันอยู่แล้ว หรือสำหรับใครที่เล่นกีฬาหลายประเภท อาจจะมีการใช้ Smart watch อยู่ด้วย ซึ่งก็สามารถใช้ในการวัด heart rate ได้เช่นกัน

สายคาดอก

สายคาดอกเป็นอุปกรณ์วัด heart rate ที่ใช้กันมายาวนานที่สุดในวงการจักรยานและนักกีฬาอาชีพ เนื่องจากสายคาดอกขึ้นชื่อเรื่องความแม่นยำและให้ข้อมูลได้ รวดเร็วมากที่สุดเมื่อเทียบเทคโนโลยีวัด heart rate ประเภทอื่นๆ

ข้อมูล heart rate เหล่านี้สามารถนำไปใช้ต่อยอด เพื่อให้นักกีฬาสามารถนำไปกำหนดโซนในการฝึกซ้อม และป้องกันอันตรายจากการออกกำลังกายเกินเหตุได้

สายคาดอกในปัจจุบันสามารถเลือกใช้สินค้าที่มี technology Bluetooth และ ANT+ ได้เพื่อเชื่อมต่อโดยตรงกับอุปกรณ์ภายนอกอื่นๆ เช่น แอพฝึกซ้อม ไมล์จักรยาน และ เทรนเนอร์

นอกจากนี้ในสินค้าบางตัว อย่าง Wahoo Tickr X จะมี memory อยู่ในตัว ทำให้ในการออกกำลังกายช่วยให้นักกีฬา ไม่ต้องพกอุปกรณ์หรือนาฬิกาหนักๆในระหว่างออกกำลังกายได้ สามารถเพิ่มความคล่องตัวในการออกกำลังายได้เป็นอย่างดี

สายรัดแขน

รู้หรือไม่ว่า…

มีนักกีฬาจำนวนมากที่รู้สึกอึดอัดและรำคาญเมื่อใต้องใช้สายคาดอก เพื่อแก้ปัญหานั้นเทคโนโลยีสายรัดแขนจึงถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นมา โดยยังคงความแม่นยำ และการให้ข้อมูลที่รวดเร็วได้พอๆกับสายคาดอก

หากใครที่พบว่าตัวเองมักอึดอัดเมื่อใช้สายคาดอก สายรัดแขนนับว่าเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดีที่เข้ามาช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้

ตัวปรับระดับความสูง

การฝึกขึ้นเขาหรือใช้เกียร์หนักเป็นหนึ่งในการฝึกซ้อมที่จำเป็น เพื่อสร้างความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อ ในการฝึกซ้อมปั่นขึ้นเขาอยู่ที่บ้าน คุณสามารถสร้างประสบการณ์ขึ้นเขาให้กับตัวเองได้แบบง่ายๆ โดยใช้อุปกรณ์เหล่านี้

หนังสือ/กล่อง

หนังสือหรือกล่องเป็นตัวเลือกขั้นเริ่มต้น คุณสามารถเลือกวางหนังสือหรือกล่องที่ใต้ล้อหน้า เพื่อเพิ่มความสูงให้เสมือนกับการปั่นขึ้นเขาจริงๆได้

ด้านบนสุดของการวางหนังสือหรือกล่อง จำเป็นที่จะต้องมีฐานวางล้ออยู่ด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้จักรยานขยับหรือลื่น เมื่อมีการปั่นหนักๆหรือยืนขึ้นโยก

อย่างไรก็ตาม การวางหนังสือหรือกล่องค่อนวุ่นวายและอันตรายต่อการใช้งาน เนื่องจากต้องใช้เวลาจำนวนมาก ในการปรับและทดลองเพื่อความสูงที่ต้องการในการปั่น อีกทั้งยังไม่สามารถปรับความสูงระหว่างปั่นได้อีกด้วย หากวางได้ไม่ดี ก็โอกาสที่จะเกิดการพลาดพลั้งทำให้ผู้ปั่นลื่นตกหล่นจากจักรยานก็เป็นได้

ตัวปรับความสูงอัตโนมัติ (+Smart Trainer)

ตัวปรับความสูงอัตโนมัติ เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ทำให้สามารถคุณไต่เขาได้เสมือนจริงมากที่สุด เพียงแค่ติดตะเกียบของจักรยานไว้กับอุปกรณ์เท่านั้น

ตัวอุปกรณ์นี้ก็จะช่วยในการปรับความสูงให้โดยอัตโนมัติตามเส้นทางที่คุณปั่นในโปรแกรมอย่าง Zwift ได้เองเลย นับว่าสะดวกสุดๆกันไปเลย

พัดลม

การปั่นจักรยานกายในอาคารไม่เหมือนการปั่นถนนจริง เนื่องจากในการปั่นถนนจริงจะมีลมเข้ามาสัมผัสกับร่างกายเพื่อช่วยระบายความร้อนและเหงื่อออกไปเสมอ

ในทางกลับกันเมื่อปั่นจักรยานภายในอาคาร จะไม่มีลมต่างๆเข้ามาช่วยในการระบายอากาศ หากคุณซ้อมในห้องปิด ที่ไม่มีการถ่ายเทอากาศที่ดี อาจจะเสี่ยงต่อการเกิดอาการหน้ามืดได้

ไหนๆจะคิดแล้วว่าควรเลือกเทรนเนอร์จักรยานแบบไหนดีแล้ว ก็อย่าลืมพิจารณาว่าต้องมีอุปกรณ์เหล่านี้ด้วย

พัดลม ทั่วๆไป

อุปกรณ์บ้านๆที่มีติดอยู่ทุกบ้าน คุณสามารถเลือกใช้พัดลมในการให้ความเย็นได้

ไม่ใช้ พัดลม แต่เปิดแอร์ ได้มั้ย

ได้ถึงระดับนึงครับ หากคุณไม่ได้ปั่นทำเซ็ตหนัก การปั่นโดยเปิดแอร์ก็สามารถระบายเหงื่อของคุณได้ แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่การทำเซ็ตหนัก ร่างกายของคุณจะผลิตเหงื่ออกมาเยอะมาก และจะสร้างความอึดอัด อาจทำให้คุณซ้อมไม่จบได้ หากคุณไม่สามารถระบายเหงื่อได้ดีพอ

ในการเลือกซื้อพัดลมให้เลือกสินค้าที่มี ความแรงในการเป่าเป็นพิเศษ

ข้อเสียของการใช้พัดลม คือ คุณไม่สามารถเลือกระดับความสูงและมุมได้ในการเป่าลมได้ดีเท่าที่ควร ทำให้บางบริเวณของร่างกายไม่ได้รับลม หรือได้รับลมมากไป ทำให้การระบายเหงื่อไม่มีประสิทธิภาพดีเท่าที่ควร

พัดลมแบบ Smart

พัดลมแบบ Smart เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่เราอยากแนะนำ เนื่องจากคุณสามารถควบคุมพัดลมผ่านแอพมือถือได้ เพิ่มความสะดวกสบายในการใช้งานได้มากระหว่างการซ้อม

อย่างไรก็ตามในการซ้อมจักรยานมักมีการซ้อมเซ็ตที่ถี่มากๆ การที่นักปั่นจะต้องมาพะวงกับการปรับพัดลมไปด้วยก็มักไม่สะดวกสักทีเดียว

แล้วมีมั้ย… พัดลมที่ปรับแรงลมอัตโนมัติ

มีครับ หากคุณต้องการหาประสบการณ์ปั่นที่ดีกว่า เราอยากแนะนำ Wahoo Headwind

พัดลมแบบ Smart นี้สามารถเชื่อมได้กับ Wahoo smart trainer ทุกรุ่น ชอบมาก ตรงที่สามารถเพิ่มและลดความแรงลมสามารถทำได้อัตโนมัติ ตาม hr หรือ ความเร็วที่เปลี่ยนไป ไม่ต้องพะวงกับความร้อน หรือการปรับพัดลมเพื่อระบายเหงื่อเลย

close up shot of the front of wahoo headwind with cyclist.

องศา และ แรงลมแบบธรรมชาติ

แก้ปัญหาระดับความสูงและมุมในการเป่าของพัดลมลม โดยแรงลมและองศาที่ลมประทะจะเข้ามาที่ตัวนักปั่นโดยตรงในองศาที่เหมือนปั่นจริง ให้ความรู้สึก เบา สบาย เหมือนลมธรรมชาติ

ตัวพัดลมสามารถสร้างได้เสมือนปั่นที่ความเร็ว 48 km/hr บอกเลยว่า เหงื่อแทบจะแห้งเหมือนปั่นจริงกันเลยเดียว ปั่นในห้องปิดแอร์ เปิดแค่ Wahoo Headwind ก็ทำเซ็ตหนักๆได้สบายๆ ไม่อึดอัด

โต๊ะสำหรับปั่นจักรยาน

การปั่นจักรยานภายในอาคารมักต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 30 นาที ซึ่งการตั้งสมาธิหรือหาจุดสนใจในการปั่นให้ผ่านช่วงเวลาการฝึกซ้อมไปได้นั้น ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งความท้าทายที่สำคัญไม่แพ้กัน

โดยทั่วไปนักปั่นมักจะดูคอมพิวเตอร์ไปด้วย ทำให้ต้องใช้โต๊ะเข้ามาวางไว้บริเวณหน้าจักรยาน หากคุณกำลังมองหาโต๊ะเราอยากแนะนำดังนี้

โต๊ะทั่วไป

อย่างที่ทุกคนทราบกันดี จักรยานของแต่ละคนมักมีไซต์ที่ไม่เท่ากัน ในการวางโต๊ะด้านหน้า จริงๆแล้วคุณสามารถใช้โต๊ะอะไรก็ได้ แต่ไม่ใช่ทุกโต๊ะที่สามารถวางโต๊ะไว้อยู่เหนือล้อหน้าของจักรยานได้

เมื่อวางโต๊ะอยู่เหนือล้อหน้าไม่ได้ การที่จะใช้อุปกรณ์หรือคอมบนโต๊ะนั้นจึงทำได้ยาก ไม่ว่าคุณจะอยากเปลี่ยนเพลงที่ไม่ชอบ เปลี่ยนหนังที่ยังไม่ถูกใจ ก็ไม่สะดวก ต้องเอื้อมกันสุดๆ เผลอๆอาจจะต้องหยุดปั่นเพื่อมาใช้งานคอมกันเลยทีเดียว

โต๊ะปรับระดับ

โต๊ะปรับระดับเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจ เนื่องจากตัวโต๊ะสามารถปรับระดับความสูงให้อยู่เหนือล้อหน้าของจักรยานได้ ทำให้คุณ

  • ไม่ต้องเอื้อมในระยะที่เกินจริง
  • ไม่ต้องหยุดปั่นเพื่อไปใช้งาน

สร้างความสะดวกสบายในการฝึกซ้อมบนเทรนเนอร์ได้ดีขึ้นอีกมาก ยิ่งหากคุณกำลังคิดว่าจะปั่นไปทำงานไป โต๊ะปรับระดับเป็นตัวเลือกที่จำเป็นอย่างยิ่งเลยหละ

closeup shot of cyclist ride a trainer while using ipad on the wahoo desk.

เสื่อกันเหงื่อ

ถึงแม้จะมีที่เป่าลมหรือพัดลมเข้ามาช่วย ต้องบอกเลยว่ายังไงก็ตาม คุณจะมีเหงื่อจำนวนมากจากการปั่นเทรนเนอร์อย่างแน่นอน เพื่อป้องกันอุบัติเหตุจาก

  • พื้นลื่นจากปริมาณเหงื่อ
  • พื้นเป็นคราบเหงื่อ
  • พื้นผิวห้องเป็นรอยจากการใช้รองเท้าคลีท

การมีเสื่อกันเหงื่อสักตัวถือเป็นตัวเลือกที่คุ้มค่าสำหรับการรักษาความสะอาด และความปลอดภัยเป็นอย่างดี

ไมล์จักรยาน

การฝึกซ้อมในบ้าน ในความเป็นจริงแล้วไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ตัวไมล์จักรยาน (head unit) ก็ได้ แต่ไม่ใช่ทุกวันที่นักปั่นจะปั่นเพียงแค่ในบ้าน

ในวันหยุดพักผ่อนหรือวันเสาร์ อาทิตย์ นักปั่นหลายๆคนมักใช้เวลาไปกับการปั่นข้างนอกกับเพื่อนฝูง หรือออกไปปั่นบนถนนใหม่ๆ

ติดแผนซ้อมไปกับคุณทุกที่

การมีไมล์จักรยานติดไปด้วย จะเปิดโอกาสให้คุณไม่พลาดการฝึกซ้อม โดยคุณสามารถเลือกที่จะดึงแผนซ้อมที่มีอยู่ในแอพต่างๆ เข้ามาอยู่ในไมล์จักรยานของคุณได้ง่ายๆ ไม่ต้องมาเขียนใส่กระดาษและแปะไว้บนจักรยาน

คุณสามารถทำแผนการซ้อมจักรยานได้ง่ายๆจากโปรแกรม Trainerroad หรือ Sufferfest แล้วทำการ sync แผนการซ้อมนั้นๆเข้าไปที่ headunit ของคุณได้เลย

 

เอาละครับ เพียงเท่านี้ คุณก็จะมีข้อมูลแล้วว่า หากคุณจะเริ่มฝึกซ้อมภายในอาคารและควรจะเลือกใช้เทรนเนอร์จักรยานแบบไหนดี ต้องเลือกใช้อุปกรณ์อะไร และเตรียมความพร้อมอย่างไร


หากคุณมีคำถามเพิ่มเติม เข้ามาคุยกับเราได้ผ่านทาง LINE
สุดท้ายนี้ขอให้ทุกคนสนุกกับการปั่น ขอบคุณที่ติดตามอ่านกันจนถึงตรงนี้ ไว้เจอกันใหม่ครับ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า